ค้นหา
หน้าที่ของสินค้าคงคลัง (Functions of Inventories)

หน้าที่ของสินค้าคงคลัง (Functions of Inventories)

หน้าที่ของสินค้าคงคลังนั้น ถูกจำแนกออกตามหน้าที่ได้เป็น

  • สดุหรือวัตถุดิบคงคลังแบบส่งผ่าน (Transit Inventories) หรือวัสดุแบบวัตถุดิบคงคลังในท่อ (Pipeline Inventory) เป็นวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังที่กำลังอยู่ในระหว่างการเคลื่อนย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง 
  •  วัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังไว้ป้องกัน (Buffer Inventories) หรืออีกชื่อก็คือ วัตถุดิบในระดับปลอดภัย (Safety Stock) เป็นวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังที่ธุรกิจเก็บไว้เพื่อป้องกันความไม่แน่นอนของปริมาณสินค้าและความต้องการ ซึ่งวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังจะมีระดับใช้เป็นกันชน (Cushion) เพื่อให้การดำเนินงานนั้นมีความราบรื่นและต่อเนื่อง โดยป้องกันปัญหาสินค้าที่ขาดมือ (Stock out) และสั่งซื้อกลับ (Backorder)
  • วัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังแบบล่วงหน้า (Anticipation Invertories) เป็นวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังที่จัดเก็บเพื่อป้องกันความเสี่ยงของสถานการณ์ เช่น การขึ้นราคา การนัดหยุดงาน การเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ หรือ ความผันผวนของสภาพเศรษฐกิจ เป็นต้น เพื่อให้การดำเนินงานมีความคงที่ ไม่ขาดตอน หรือต้องเร่งกำลังการผลิต เช่น ผู้ผลิต ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก และ ห้างสรรพสินค้าต่างๆ เหล่านี้ก็จะพยายามจะเก็บวัสดุหรือวัตถุดิบล่วงหน้าในช่วงเทศกาลเป็นต้น
  • วัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังแบบคู่ควบ (Decoupling Inventories) เป็นระบบวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลัง ที่จะช่วยให้การหมุนเวียนของวัสดุหรือวัตถุดิบและกระบวนการผลิตดำเนินไปอย่างรวบรื่นในอัตราคงที่
  • วัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังแบบวงจร (Cycle Inventories) หรือวัสดุ วัตถุดิบคงคลังที่สั่งซื้อ (Lot-size Inventory) เป็นปริมาณหรือวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังที่สั่งซื้อในรอบระยะเวลา เพื่อเป็นการให้ต้นทุนของการสั่งซื้อและการจัดเก็บวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังต่ำที่สุด โดยวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังแบบวงจร เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารระบบวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังธุรกิจ และในทางปฏิบัติของธุรกิจต่างๆนั้น คงจะไม่ได้แยกเก็บวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังตามหน้าที่อย่างชัดเจน และในหลายๆธุรกิจก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังในทุกหน้าที่ แต่เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจถึงความแตกต่างของวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังเพื่อใช้ในระบบการวางแผนจัดการวัสดุหรือวัตถุดิบในเชิงรุก 
  • การมีวัสดุคงคลังเพื่อเก็บไว้ใช้ในกรณีพิเศษต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามแผนการดำเนินงานทั้งกรณีที่คาดว่าจะมีความต้องการเพิ่มขึ้นจากปกติ 
  • การมีวัสดุคงคลังเพื่อเก็บสำรอง ไว้กรณีที่ความต้องการของลูกค้าหรือการจัดส่งวัสดุหรือสินค้าจะ Supplier มีความไม่แน่นอน
  • การมีวัสดุคงคลังเนื่องจากผลิตหรือสั่งซื้อแบบเต็ม Lot เพื่อรักษาการผลิตให้มีอัตราคงที่ เพื่อให้ได้ส่วนลดปริมาณจากการจัดซื้อจำนวนมากๆ ต่อครั้ง
  • การมีวัสดุคงคลังไว้เพื่อเก็งกำไรในอนาคต

การจัดการสินค้าคงคลัง

การจัดการสินค้าคงคลัง มีความสำคัญในหลายประการ คือ

  1. เพิ่มความสามารถในการทำกำไรของกิจการ จากการจัดการสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีการจัดให้มีระดับสินค้าคงคลังที่มีความเหมาะสมไม่มากเกินไปหรือไม่น้อยเกินไป จนต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา หรือเป็นการเพิ่มต้นทุน และไม่มีสินค้าคงคลังน้อยเกินไปจนเกิดการขาดแคลนทำให้สูญเสียโอกาสในการขายหรือสูญเสียลูกค้าไปให้คู่แข่งขัน
  2. การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า สินค้าคงคลังของกิจการจะต้องทำให้กิจการนั้นสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันที และ ในเวลาที่ลูกค้าต้องการ สามารถที่จะส่งมองสินค้าได้อย่างตรงต่อเวลา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความได้เปรียบ
  3. การเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต โดยสินค้าคงคลังที่เป็นวัตถุดิบจะช่วยให้กระบวนการผลิตนั้น เป็นไปอย่างราบรื่น และนอกจากนี้ในกระบวนการผลิตหากมีขั้นตอนหนึ่งคือ เครื่องจักรอาจจะเกิดความเสียหาย แต่การมีสินค้าคงคลังเอาไว้ระหว่างการผลิตนั้น จะช่วยให้การผลิตไม่ต้องหยุดชะงัก สามารถดำเนินการผลิตต่อไปได้อย่างต่อเนื่องครับ

ที่มา: www.iok2u.com

แชร์บทความ หรือข่าวสาร

Facebook
Line
Mail