ค้นหา
14 วิธีง่ายๆ ป้องกันการเกิดอัคคีภัยในโกดัง คลังสินค้า

14 วิธีง่ายๆ ป้องกันการเกิดอัคคีภัยในโกดัง คลังสินค้า

เหตุไฟไหม้นี้ นับว่าเป็นภัยร้ายอย่างมากที่ใครๆก็ไม่อยากประสบพบเจอ เพราะเมื่อเกิดไฟไหม้ขึ้นแล้วนั้น สิ่งที่สูญเสียไปจะไม่สามารถนำกลับคืนมาได้ ทั้งทรัพย์สินของมีค่า หรือสินค้าต่างๆ โดยเฉพาะถ้าเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ในโรงงาน คลังสินค้า ซึ่งเป็นอาคารสำหรับทำงาน ทำธุรกิจ เป็นที่ตั้งของเครื่องจักรที่มีมูลค่าสูง ดังนั้น การมองหาวิธีป้องกันไฟไหม้จึงเป็นมาตรการที่ผู้ประกอบการหรือผู้บริหารโรงงาน โกดัง คลังสินค้าเอง ต้องตระหนักอยู่เสมอ ไม่ควรชะล่าใจเพราะคิดว่าคงไม่มีโอกาสเกิดไฟไหม้โรงงาน โกดัง หรือคลังสินค้าของเรา

ในวันนี้เรามาดู วิธีป้องกันไฟไหม้กันแบบง่ายๆ ทั้ง 14 ข้อ และสามารถนำไปใช้เป็นมาตรการป้องกันไฟไหม้โรงงาน โกดังและคลังสินค้าของเราได้กันดีกว่าครับ


1.ติดป้ายสัญลักษณ์ทางออกที่ชัดเจนบนประตู


แผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิตสามารถดัดโค้งขึ้นรูปได้ง่าย

ขอบคุณภาพจาก : www.thairath.co.th


สัญลักษณ์ที่ประตูทางออกนั้น ควรจะติดให้ชัดเจน และสามารถมองเห็นได้ง่าย สะดุดตา อาจจะติดป้ายแบบกล่องไฟหรือสติ๊กเกอร์สะท้อนแสง นอกจากนี้ควรใช้รูปภาพหรือข้อความที่เป็นสากลเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันกับพนักงานทุกคนว่า นี้คือประตูทางออก หรือ ทางหนีไฟ


2.อย่าล็อคทางเข้าออกทุกทางและควรมีทางออกฉุกเฉินโดยเฉพาะ


อย่าล็อคทางเข้าออกทุกทางและควรมีทางออกฉุกเฉินโดยเฉพาะ

ขอบคุณภาพจาก : www.psv-smart-engineering.com


แม้ว่าประตูหน้าและประตูส่วนอื่นของโรงงาน โกดังและคลังสินค้า จะต้องล็อคอย่างแน่นหนา และควรจัดให้มีทางออกฉุกเฉินหรือประตูหนีไฟที่สามารถเปิด ปิด ได้ตลอดเวลาโดยไม่มีการล็อคเอาไว้เสมอ และควรจัดการให้สามารถผ่านเข้าออกได้อย่างสะดวก ระหว่างพนักงานที่อยู่ในตัวอาคาร


3.ตรวจสอบว่าเครื่องตรวจจับควันและเพลิงไหม้ทำงานได้อย่างเป็นปกติ

วิธีป้องกันไฟไหม้ที่ดีที่สุดอีกทางหนึ่งก็คือการตรวจสอบเครื่องตรวจจับควันและเพลิงไหม้เป็นระยะว่าอุปกรณ์เหล่านี้ยังทำงานได้เป็นปกติ ไม่มีเหตุขัดข้อง เพื่อให้มีความมั่นใจว่า หากเกิดไฟไหม้ขึ้นมา เครื่องตรวจจับควันและเพลิงไหม้ จะสามารถส่งเสียงแจ้งเตือนบุคลากรหรือเปิดอุปกรณ์ดับเพลิงในโรงงานและโกดังคลังสินค้าได้ทันทีครับ


4.สัญญาณเตือนเพลิงไหม้ควรทำงานได้อย่างปกติ


ตรวจสอบว่าเครื่องตรวจจับควันและเพลิงไหม้ทำงานได้อย่างเป็นปกติ

ขอบคุณภาพจาก : www.psv-smart-engineering.com


สัญญาเตือนเหตุเพลิงไหม้เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ป้องกันไฟไหม้ในโรงงานหรือคลังสินค้าที่ขาดไม่ได้เด็ดขาด เพราะเมื่อเกิดเหตุขึ้นมา พนักงานสามารถกดปุ่มฉุกเฉินเพื่อแจ้งเตือนไฟไหม้ได้ทันที จากนั้นสัญญาณเตือนจะดังไปทั่วอาคาร เพราะฉะนั้นแล้วควรตรวจสอบความเรียบร้อยของอุปกรณ์นี้อย่างสม่ำเสมอ


5.อย่าให้มีสิ่งกีดขวางเครื่องดับเพลิง

การติดตั้งเครื่องดับเพลิง ควรอยู่ในจุดที่สามารถสังเกตหรือเข้าถึงได้ง่าย ไม่ควรมีสิ่งกีดขวางระหว่างทางเดินกับเครื่องดับเพลิง


6.อบรบวิธีใช้เครื่องดับเพลิงอย่างถูกต้องแก่พนักงาน


อบรบวิธีใช้เครื่องดับเพลิงอย่างถูกต้องแก่พนักงาน

ขอบคุณภาพจาก : www.pwa.co.th


เครื่องดับเพลิงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานได้ไม่ยาก แค่ต้องมีความรู้และเข้าใจขั้นตอนการใช้งานที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นแล้ว อย่าลืมจัดอบรมการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงให้กับพนักงานทุกคนในอาคารโรงงาน โกดัง และคลังสินค้าของเราด้วย


7.ควรมีระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิง


ควรมีระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิง

ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงเป็นวิธีป้องกันไฟไหม้ที่มีประสิทธิภาพ เพราะหัวฉีดที่ติดตั้งไว้บนเพดานจะทำงานเมื่อตรวจพบควันหรือสัญญาณไฟไหม้ จากนั้นมันจะทำหน้าที่ฉีดน้ำออกมาโดยอัตโนมัติเป็นวงกว้าง การฉีดน้ำในลักษณะนี้ จะสามารถดับเพลิงได้ดี เป็นตัวช่วยไม่ให้เพลิงลุกลามได้


8.เก็บสารเคมีในตู้กันไฟที่ปิดสนิท

การลดความเสี่ยงเป็นวิธีป้องกันไฟไหม้ที่ดีที่สุด เพราะฉะนั้นหากโรงงาน โกดัง หรือคลังสินค้าของคุณมีสารเคมีอันตราย ก็ควรเก็บในตู้กันไฟที่ปิดสนิท เพื่อป้องกันไม่ให้สารเคมีเหล่านี้ กลายเป็นเชื้อไฟขึ้นมาอีกเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้


9.ห้ามสูบบุหรี่ใกล้วัตถุที่ติดไฟได้

การสูบบุหรี่ควรสูบในพื้นที่เฉพาะนอกตัวอาคารและล้อมบริเวณด้วยวัสดุที่ไม่ลามไฟ


10.อย่าปล่อยให้สายต่างๆและสายไฟอยู่ในสภาพเปลือยหรือห้อยระโยงระยาง


อบรบวิธีใช้เครื่องดับเพลิงอย่างถูกต้องแก่พนักงาน

ขอบคุณภาพจาก : www.today.line.me


สายไฟในโรงงาน โกดัง หรือคลังสินค้า ควรที่จะจัดเก็บให้เรียบร้อย เป็นระเบียบ ไม่ปล่อยให้ระโยงระยางจนทั่วทั้งโรงงาน


11.ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนสายไฟที่ชำรุดหรือเก่า

สายไฟเก่าเป็นที่มาของไฟฟ้าลัดวงจร อาจจะเกิดสะเก็ดไฟหรือไฟช๊อต เป็นต้นเหตุของไฟไหม้ที่หลายคนมองข้าม


12.ทำการตรวจสอบการป้องกันอัคคีภัยอย่างสม่ำเสมอ


ทำการตรวจสอบการป้องกันอัคคีภัยอย่างสม่ำเสมอ

ขอบคุณภาพจาก : www.mdpc.co.th


ผู้ประกอบการควรจัดให้มีการซ้อมหนีไฟอย่างน้อยปีละ 1-2ครั้ง รวมถึงวางแผนตารางตรวจเช็กระบบป้องกันอัคคีภัยภายในโรงงานและโกดังคลังสินค้าอย่างสม่ำเสมอ


13.จัดเก็บวัตถุดิบในการผลิตและสินค้าให้เป็นระเบียบ

วัตถุดิบในการผลิตและสินค้า ต้องมีการจัดเก็บให้เป็นระเบียบอยู่เสมอ โดยแยกประเภทและหมวดหมู่ให้ชัดเจน นอกจากจะช่วยให้ง่ายต่อการขนส่งหรือการนำมาใช้แล้ว แต่ถ้าหากเกิดเหตุไฟไหม้ขึ้นมายังป้องกันสิ่งของเหล่านี้ขวางทางเดินได้อีกด้วย


14.อย่าให้มีสิ่งกีดขวางประตูหรือทางเดิน

เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ขึ้นมา ทุกคนต่างก็ต้องออกมายังทางเดินเพื่อไปยังทางหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินที่ใกล้ที่สุด เพราะฉะนั้นแล้ว พยายามเคลียพื้นที่ทางเดินให้โล่งและกว้างตลอด อย่าให้มีสิ่งกีดขวางทางเดดินรวมถึงประตูฉุกเฉินด้วย


วิธีป้องกันไฟไหม้ทั้ง 14 วิธีนี้ เป็นขั้นตอนง่ายๆ ที่ผู้บริหาร ผู้ประกอบการ หรือ ผู้ดูแลโรงงาน โกดัง และ คลังสินค้า สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เพื่อเป็นมาตรการป้องกันการเกิดเหตุไฟไหม้ครับ

ที่มา: www.proindsolutions.com

แชร์บทความ หรือข่าวสาร

Facebook
Line
Mail