ค้นหา
ผลกระทบจากสงคราม ยูเครน-รัสเซีย ต่อซัพพลายเชนไทย

ผลกระทบจากสงคราม ยูเครน-รัสเซีย ต่อซัพพลายเชนไทย

จากความตึงเครียดระหว่างยูเครนและรัสเซียที่มียาวนาน ในที่สุดเช้ามืดของวันพฤหัสบดีที่ 24 ก.พ. 2565 ที่ผ่านมานั้น ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย สั่งเริ่มปฏิบัติการทางทหารในภูมิภาคดอนบาส ทางตะวันออกของทางยูเครน ซึ่งกองกำลังของรัสเซียบุกเข้าสู่ยูเครนจากทุกทิศทาง ทำให้มีผู้เสียชีวิตได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก สงครามนี้มีท่าทีว่าจะยืดเยื้อและไม่จบลงง่ายๆ จึงอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด supply chain disruption หรือการหยุดชะงักในซัพพลายเชนได้ เนื่องจากทั้งรัสเซียและยูเครนเป็นผู้ส่งออกรายสำคัญของโลก ไม่ว่าจะเป็นสินค้าทางเกษตรต่างๆเช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด ส่งออกน้ำมันให้กับประเทศในยุโรป เหล็กและสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ 

ยูเครน รัสเซีย
ขอบคุณภาพจาก  : ไทยรัฐ ออนไลน์

การค้าระหว่างประเทศยูเครน รัสเซีย และ ไทย

ประเทศไทยได้มีการนำเข้าสินค้ากับประเทศรัสเซียและยูเครน มูลค้าหลายพันล้านบาท จากสถิติของกระทรวงพาณิชย์เผย 5 อันดับสินค้าที่ไทยนำเข้าจากยูเครนในปี 2564 ได้แก่
  1. สินค้าทางการเกษตร
  2. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์
  3. ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์
  4. สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์
  5. แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่

จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยนั้นได้นำเข้าสินค้าทางการเกษตร คิดเป็น 57% ของสินค้านำเข้าทั้งหมดจากประเทศยูเครน ตามมาด้วยเหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็กเป็นอันดับ2 คิดเป็น 39% เมื่อเกิดสงครามยูเครน-รัสเซียขึ้น แน่นอนว่าผลกระทบไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับ 2 ประเทศนี้เท่านั้น มันแผ่วงกว้างไปยังประเทศในยุโรป อเมริกา และส่งผลกระทบห่วงโซ่ซัพพลายเชนของประเทศคู่ค้า เรามาดูกันดีกว่าครับว่า ซัพพลายเชนในไทยนั้น ได้รับผลกระทบอย่างไรจากสงครามครั้งนี้บ้าง

ซัพพลายเชนสินค้าทางการเกษตรได้รับผลกระทบอย่างหนักจนทำให้การผลิตอาหารสัตว์บางส่วนต้องปิดไลน์การผลิตไป

รัสเซียและยูเครนนั้นเป็นผู้ส่งออกพืชวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่รายใหญ่ที่สุดของโลก โดยมีปริมาณการส่งออกข้าวสาลีรวมกันถึง 29% ของปริมาณการส่งออกทั่วโลก และ มีสัดส่วนการส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงถึง 19% ของตลาดโลก ประเทศไทยได้นำเข้าข้าวสาลี ข้าวโพด กากถั่วเหลืองเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น อาหารกุ้ง เป็นต้น ซึ่งผลกระทบจากสงครามนี้ได้ประจักษ์เป็นที่เห็นในวงการอุตสาหกรรมปศุสัตว์ไทย เนื่องจากประเทศยูเครนไม่สามารถส่งออกข้าวสาลี กากถั่วเหลืองได้ จึงส่งผลให้ราคาต้นทุนของอาหารสัตว์พุ่งขึ้น

ราคาพลังงาน สินค้าโภคภัณฑ์ ปรับตัวสูงขึ้น กิจการรายย่อยได้รับผลกระทบอย่างหนัก

รัสเซียเป็นประเทศที่ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ให้กับยุโรป สูงถึง 46% เลยทีเดียว จากการทำสงครามที่รัสเซียบุกล้อมเข้าประเทศยูเครนนั้น ผลกระทบที่ตามมาเลยก็คือ ราคาของก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน น้ำมันในยุโรป และของโลกเพิ่มสูงขึ้น ภาคธุรกิจในยุโรปบางส่วนจะต้องปิดตัว เนื่องจากขาดแคลนพลังงาน และนอกจากราคาพลังงานจะเพิ่มขึ้นแล้ว ราคาโลหะ ก็มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น

ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจไทยคือราคาน้ำมันจะพุ่งขึ้นสูงอีก เกิดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยปัจจุบันราคาน้ำมันก็พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์แล้ว อุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบหนักเลยก็คือ โลจิสติกส์ที่มีการขนส่งเป็นบริการหลัก ธุรกิจรายย่อยก็เช่นเดียวกัน ส่วนธุรกิจที่จะต้องใช้วัตถุดิบจากโลหะ เช่น อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ต่างๆจะมีต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นครับ

ที่มา: www.supplychainguru.co.th

แชร์บทความ หรือข่าวสาร

Facebook
Line
Mail