ค้นหา
การบริหารโซ่อุปทาน (Supply Chain) ร่วมกันแบบ Collaboration

การบริหารโซ่อุปทาน (Supply Chain) ร่วมกันแบบ Collaboration

ในระบบของโซ่อุปทานจะเกิดการไหลเวียนในกระบวนการของธุรกิจ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จากการเชื่อมโยงของโซ่อุปทานทั้งภายในและภายนอกองค์กร มีการเปลี่ยนเปลี่ยนข้อมูล (Information Sharing) และร่วมมือกัน (Collaboration) ระหว่างแผนกต่างๆทั้งภายในและภายนอกขององค์กร เช่น ผู้ผลิตสินค้ามีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับลูกค้ารวมถึง Supplier โดยอาศัยเทคโนโลยี IT ที่เชื่อมโยงข้อมูลกันในระบบ

การบริหารโซ่อุปทาน (Supply Chain) ร่วมกันแบบ Collaboration

การจัดการโซ่อุปทาน มีความจำเป็นสำหรับการดำเนินธุรกิจในแทบทุกอุตสาหกรรมครั้งนี้เนื่องจากสภาวะการแข่งขันในปัจจุบันที่ทำให้ทุกภาคธุรกิจใส่ใจกับเรื่องของการลดต้นทุนในการดำเนินงานและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นมากเป็นพิเศษ การพยายามลดต้นทุนเฉพาะภายในองค์กรเพียงอย่างเดียวไม่พอสำหรับภาวะในปัจจุบันที่มีการแข่งขันอย่างรุ่นแรง เพราะกว่าผลิตภัณฑ์จะถึงมือลูกค้า ก็จะต้องผ่านมือผู้ผลิตมาหลายทอด ดังนั้นแล้วการสร้างความได้เปรียบในส่วนของต้นทุน จึงจำเป็นที่จะต้องมาจากความร่วมมือในหมู่คู่ค้าที่ผลิตภัณฑ์หรือสินค้านั้นไหลผ่านกระบวนการหรือการเชื่อมโยงกันเป็นโซ่อุปทานเดียวกัน โดยจะต้องทำงานบนพื้นฐานของกระบวนการการทำงานร่วมกัน มีแผนงานร่วมกัน ข้อมูลร่วมกัน เป็นต้น จึงทำให้การทำงานในยุคปัจจุบันต้องมีการสร้างกระบวนการร่วมกันเพื่อการ Collaborate ร่วมกันได้จะต้องมีการใช้ข้อมูลสารสนเทศร่วมกัน โดยในการสร้างปัจจัยที่สามารถผลักดันให้เกิดการทำงานร่วมกันนั้นจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลักๆ ได้แก่

Collaboration

1.ความไว้ใจซึ่งกันและกัน (Trust)

เป็นปัจจัยหลักและสำคัญมากที่สุด และยังจำเป็นจะต้องสร้างขึ้นมา ในอดีตผู้ที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกัน มักจะมีความไว้ใจกันสูง ซึ่งความไว้ใจในอดีตมักจะเกิดในรูปแบบของคุณภาพของสินค้าและเครดิต การแลกเปลี่ยนความคิด แผนงาน ตลอดจนข้อมูลการค้าที่สำคัญ และมีความเชื่อมโยงกันซึ่งกัน ความเสียหายหรือต้นทุนที่เกิดจากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะส่งผลต่อคู่ค้าและผู้ที่อยู่ในโซ่อุปทานรายอื่นๆด้วย

2.การร่วมใช้ข้อมูลชุดเดียวกัน (Information Sharing)

หากคู่ค้ายินยอมให้ใช้ข้อมูลการค้าร่วมกันหรือเป็นข้อมูลชุดเดียวกันแล้ว จะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทั้งในเรื่องของเวลา และ ต้นทุน เพราะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องของ Lead time , Order Fulfillment ระดับของ Inventory ได้ และนอกจากนี้ต้นทุนวัตถุดิบและสินค้าที่ผ่านมาในแต่ละขั้นตอนก็สามารถลดลงได้โดยอาศัยข้อมูลการพยากรณ์ที่คู่ค้านำมาใช้ร่วมกันเพื่อการวางแผนการผลิตและการจัดส่ง

การร่วมใช้ข้อมูลชุดเดียวกัน

3.คุณภาพของข้อมูลที่ใช้ร่วมกัน (Quality of Shared Information) 

คุณภาพของข้อมูล โดยทั่วไปแล้วนั้นหมายถึง ความถูกต้อง และ ความทันต่อเวลา ซึ่งข้อมูลนั้นจะไม่เกิดประโยชน์ใดๆเลย หากเป็นข้อมูลที่ไม่มีความแม่นยำและโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องเป็นข้อมูลที่ทันสมัยและสามารถเรียกใช้ได้ทันเวลา และนอกจากความถูกต้องและทันเวลาแล้วนั้น ประเภทและระดับของข้อมูลที่ใช้ก็สำคัญ เช่น หากต้องการปรับปรุงข้อมูลเรื่อง Inventory ข้อมูลสำคัญและเกี่ยวข้องคือ การพยากรณ์ (Forecast) แผนการตลาดและการส่งเสริมการตลาด ข้อมูลสินค้าล้าสมัย ข้อมูลสินค้าที่จะแนะนำเข้าสู่ตลาด ข้อมูลสินค้าและบริการของคู่แข่งเป็นต้น โดยที่ข้อมูลเหล่านี้จะต้องอยู่ในระดับที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้

4.เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร (Information and Communication Technologies)

ระบบการสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างองค์กรในระบบโซ่อุปทานจะช่วยทำให้เกิดประสิทธิภาพของการบริหารจัดการร่วมกัน ซึ่งจะกลายเป็นเสมือนเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมองค์กรต่างๆเข้าด้วยกัน ทำให้การสร้างกระบวนการวางแผนร่วมกันการไหลของวัตถุดิบผ่านการผลิตจนถึงการกระจายสินค้าสำเร็จรูปผ่านไปยังผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว จะสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ต่อเมื่อมีการนำเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งประกอบไปด้วยคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ มาประยุกต์ใช้ในทุกกิจกรรมทั้งภายในบริษัทและภายนอกบริษัท เพื่อสร้างความถูกต้องและรวดเร็ว ซึ่งซอฟแวร์ที่ใช้คือระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร เพื่อให้การไหลของข้อมูลรวดเร็วที่เรียกว่า การจัดการโซ่อุปทาน 

ที่มา: www.iok2u.com

แชร์บทความ หรือข่าวสาร

Facebook
Line
Mail