ค้นหา
ส่งออกผลไม้ไทยมาแรง ฝ่า Covid-19

ส่งออกผลไม้ไทยมาแรง ฝ่า Covid-19

สินค้าส่งออกในปี 2565 ผลไม้ถือว่ามีบทบาทสำคัญในหมวดสินค้าเกษตรส่งออกของไทย เห็นได้จากปี 2564 แม้ว่าการส่งออกข้าวไทยเริ่มชะลอตัว แต่มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรรวมกลับไม่ลดตาม เพราะได้อานิสงส์จากการส่งออกผลไม้ ที่มีมูลค่ามากถึง 5.7 พันล้านดอลลาร์ และ ครองส่วนแบ่งของตลาดสินค้าเกษตรส่งออกถึงที่สุดถึงร้อยละ 29% ทำให้คาดว่าการส่งออกผลไม้ไทยยังมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ตามความนิยมต่อเนื่องจากประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ซึ่งอยู่ในภูมิภาคเอเชียเป็นหลัก เพราะระยะเวลาจนส่งผลไม้ที่รวดเร็ว จึงคงความสดใหม่และค่าขนส่งที่ไม่สูงมากนัก

การส่งออกข้าว

จากความกังวลของสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ตั้งแต่ปลายปี 2562 และการติดเชื้อยังมีการมาต่อเนื่อง แต่การส่งออกผลไม้ไทยยังสามารถเคลื่อนตัวได้ดี และเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะจีนที่อยู่ในระดับสูงทั้งทุเรียน ลำไย และ มังคุด ซึ่งการส่งออกผลไม้สดไปจีนนั้นถือว่าตลาดใหญ่ถึง 90 % ของไทย และ ในปี 2565นี้ ไทยมีเป้าหมายส่งออกให้ได้ 530,000 ตัน โดยตั้งเป้าเพิ่มปริมาณการส่งออกผลไม้ผ่านช่องทางสำคัญเพิ่ม 3 ช่องทางหลัก ก็คือ ทางเรือ 83% ทางอากาศ 6.5% และ ทางบก 10.5% การขนส่งทางบกไปประเทศจีนนั้น จะผ่าน 4 ด่านหลักก็คือ โมฮาน โหย่วอี้กวาน ตงชิง และ ผิงเสียง ซึ่งมีประเด็นเรื่องด่านจีนเปิด-ปิด เพราะสถานการณ์โควิด และ นโยบาย Zero-Covid ของจีน จึงมีการปรับแผนเป็นส่งทางเรือมากขึ้น เพื่อให้แผนส่งผลไม้สดไปจีนครบทั้ง 530,000 ตัน ตามเป้า แม้ว่าการส่งออกนั้นจะขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้ส่งออกไทย รวมถึงเกษตรไทยยังจะต้องเผชิญกับความท้าทายอีกหลายๆด้านเช่น

1.การกระจุกตัวของตลาด

ที่พึ่งพาตลาดจีนเป็นหลัก ซึ่งอาจจะมีความเสี่ยงจากมาตรการทางการค้าของจีนที่เกี่ยวเนื่องกับกระบวนการส่งออกของไทย ที่มีความเข้มงวด อาจจะทำให้ต้นทุนการขนส่งของผู้ส่งออกไทยเพิ่มสูงขึ้น และนอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงในอนาคตที่ผู้บริโภคชาวจีน อาจจะหันไปซื้อผลไม้ที่มีรสชาติแปลกใหม่ จากผู้ผลิต ประเทศอื่นมากขึ้นอีกด้วย

2.รายได้ของเกษตรกรไทย

 นอกจากนวัตกรรมทางการผลิตแล้ว นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการเงินที่จับคู่ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายให้มาพบกันบนโลกออนไลน์ ก็มีส่วนสำคัญต่อการปรับตัวของเกษตรกรไทย ดังนั้นแล้วการปลูกถ่ายองค์ความรู้และวิธีการใหม่ๆ อาทิ เช่น การทำช่องทางการขายแบบ E-commerce ถือว่าเป็นอีกช่องทางในการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรไทย

3.การบริการจัดการโซนนิ่ง และปริมาณผลผลิตทุเรียนในอนาคต เพื่อลดการกระจุกตัวช่วงออกสู่ตลาด

ในช่วงที่การส่งออกผลไม้ที่มีความร้อนแรง จูงใจให้เกษตรหันมาปลูกผลไม้อย่างทุเรียนเพิ่มมากขึ้น และถ้าหากผลผลิตทั้งหมดออกสู่ตลาดจำนวนมาก โดยไม่ได้ขยายตลาดการส่งออกไปพร้อมๆกัน ผลผลิตที่มีมากกว่าความต้องการของตลาด จะส่งแรงกดดันให้สินค้านั้นมีราคาที่ลดลง

นำเข้า-ส่งออก
แต่อย่างไรก็ตามแม้ความต้องการสินค้าในช่วงโควิด-19 ยังคงสูงแต่ผู้ส่งออกเองจะต้องเผชิญกับข้อจำกัดด้านกระบวนการส่งออกหลายๆประการ เช่น มาตรการขนส่งระหว่างประเทศ ข้อจำกัดเรื่องการปิดช่องทางการขนส่งในบางจุด การควบคุมสินค้าปลอดเชื้อ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการในไทยยังมีการปรับตัวและสามารถรับมือกับสถานการณ์ในช่วงที่เกิดโรคระบาดได้ดีครับ 
Website  ของเรานั้นได้ให้บริการรวบรวมข้อมูลบริษัทต่างๆ ที่ให้บริการด้าน นำเข้า-ส่งออก โลจิสติกส์แบบครบวงจร คุณสามารถเข้าไปติดต่อสอบถามข้อมูลการให้บริการกับบริษัทที่คุณสนใจได้โดยตรง ทั้งนี้นั้นทางเราเป็นเพียงแค่ตัวกลาง ระหว่างคุณกับบริษัทที่คุณสนใจครับ

ที่มา: www.bkkterminal.com

แชร์บทความ หรือข่าวสาร

Facebook
Line
Mail