ค้นหา
Plan ระดับการวางแผนโลจิสติกส์

Plan ระดับการวางแผนโลจิสติกส์

ระดับการวางแผนโลจิสติกส์ (Logistics Plan Level) ในการวางแผนโลจิสติกส์ จะมีการพิจารณาถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกันอย่างต่อเนื่อง ในการดำเนินการตามแผนที่วางเอาไว้ในแต่ล่ะช่วงเวลาและจะต้องมีการติดตามวิเคราะห์ผลกระทบจากการดำเนินงานตามแผนที่วางเอาไว้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขแผนที่วางเอาไว้อย่างสม่ำเสมอและให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากความสำเร็จของแผนโลจิสติกส์นั้นตัวแปรสำคัญที่สุดคือ ความสามารถในการตอบสนองความต้องการสินค้า/วัตถุดิบ ณ ช่วงเวลานั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นจึงต้องมีการแบ่งระดับการวางแผนโลจิสติกส์ออกเป็น 4 ระดับ

Plan ระดับการวางแผนโลจิสติกส์ (Logistics Plan Level)

ระดับ 1 การวางแผนโลจิสติกส์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Plan)

การวางแผนการใช้ทรัพยากรโลจิสติกส์ (ทรัพยากรมนุษย์ เงินทุน สิ่งอำนวยการ และอุปกรณ์ระบบเทคโนโลยี) ในระยะยาว 3-5 ปี โดยการนำข้อมูลจากการพยากรณ์ยอดขายมาเป็นฐานข้อมูลในการกำหนดธุรกรรมในอนาคตให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์องค์กร แผนการตลาด แผนการผลิต แผนการเงิน และแผนทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งผู้บริหารระดับสูงของสายงานทางด้านโลจิสติกส์จะเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง

ระดับ 2 การวางแผนโลจิสติกส์หลัก (Master Plan)

เป็นการวางแผนการใช้ทรัพยากรโลจิสติกส์ระยะกลาง 1-3 ปี ที่กำหนดกิจกรรมโลจิสติกส์หลักภายใต้กรอบของการวางแผนโลจิสติกส์เชิงกลยุทธ์ โดยใช้ข้อมูลตัวเลขการพยากรณ์ยอดขายและคำสั่งซื้อล่วงหน้าของลูกค้ามากำหนดการวางแผนความต้องการพัสดุ การจัดหา การจัดเก็บ การจัดส่งสินค้า และการบริการลูกค้าให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ซึ่งผู้บริหารระดับกลางจะเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง

ระดับ 3 การวางแผนตารางการทำงานหลัก (Scheduling Plan)

เป็นการวางแผนการใช้ทรัพยากรใช้ทรัพยากรโลจิสติกส์ในระยะสั้น 6 เดือนถึง 1 ปี ที่กำหนดกิจกรรมโลจิสติกส์หลักภายใต้กรอบของแผนโลจิสติกส์หลักโดยใช้ข้อมูลตัวเลขการพยากรณ์ยอดขายหรือคำสั่งซื้อล่วงหน้าของลูกค้ามากำหนดกิจกรรมการวางแผนความต้องการพัสดุ การจัดซื้อ การจัดเก็บ การจัดส่งสินค้า และบริการให้ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ตรงเวลาและประหยัด

ระดับ 4 การวางแผนกระบวนการคำสั่งซื้อของลูกค้า (Order Processing)

เป็นการวางแผนการใช้ทรัพยากรโลจิสติกส์รายวัน ที่กำหนดกิจกรรมการสั่งซื้อของลูกค้าภายใต้กรอบของแผนตารางการทำงานหลักโดยใช้ข้อมูลตัวเลขจากจำนวนคำสั่งซื้อจากลูกค้าและจัดลำดับการให้บริการตามประเภทของลูกค้า ตั้งแต่กระบวนการรับคำสั่งซื้อ การตรวจสอบสินค้าคงคลัง ความพร้อมของสินค้า ยานพาหนะ บุคลากร และอุปกรณ์เครื่องมือ

Website  ของเรานั้นได้ให้บริการรวบรวมข้อมูลบริษัทต่างๆ ที่ให้บริการด้าน นำเข้า-ส่งออก โลจิสติกส์แบบครบวงจร คุณสามารถเข้าไปติดต่อสอบถามข้อมูลการให้บริการกับบริษัทที่คุณสนใจได้โดยตรง ทั้งนี้นั้นทางเราเป็นเพียงแค่ตัวกลาง ระหว่างคุณกับบริษัทที่คุณสนใจครับ 

ที่มา: www.iok2u.com

แชร์บทความ หรือข่าวสาร

Facebook
Line
Mail