ค้นหา
องค์ประกอบหลักในงานโลจิสติกส์และช่องทางการขนส่ง

องค์ประกอบหลักในงานโลจิสติกส์และช่องทางการขนส่ง

โลจิสติกส์ (Logistics) ที่คนทั่วไปส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าคือ การขนส่ง แต่ในความเป็นจริงแล้ว กิจกรรมโลจิสติกส์จะมีองค์ประกอบที่สำคัญครอบคลุมในหลายด้าน เพื่อให้สามารถเคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของให้สามารถตอบสนองความต้องการในโซ่อุปทานชัพพลายเชนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด องค์ประกอบที่สำคัญได้แก่ 

การบริหารจัดการสารสนเทศ (Information Management)

1.การบริหารจัดการสารสนเทศ (Information Management)

เป็นกิจกรรมที่จะต้องพยายามดำเนินการให้รวดเร็วที่สุดเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า  ในปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่มักนำระบบคอมพิวเตอร์และการจัดการธุรกิจเชิงอิเล็คทรอนิคส์เข้ามาช่วย  เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ส่วนสารสนเทศถือเป็นหัวใจหลักในงานโลจิสติกส์ เพื่อควบคุมกระบวนการทั้งหมด ตั้งแต่ การวางแผนคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า  (Demand  Forecasting ) คาดการณ์ความต้องการในตัวสินค้าหรือการบริการลูกค้า และเพื่อให้บริการลูกค้า  (Customer  Service) เป็นกิจกรรมที่องค์กรพยายามตอบสนองความต้องการของลูกค้า  ซึ่งจะทำได้ดีเพียงใดต้องขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของสารสนเทศที่มี 

2.การบริหารการจัดซื้อ (Procurement Management)

2.การบริหารการจัดซื้อ (Procurement Management)

เน้นการบริหารในการจัดซื้อ จัดหาวัตถุดิบ และบริการทั้งในส่วนของการเลือกผู้จำหน่ายวัตถุดิบ กำหนดช่วงเวลาและปริมาณในการสั่งซื้อ และสร้างความสัมพันธ์กับผู้จำหน่ายวัตถุดิบ 

3.การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory  Management)

3.การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory  Management)

รวมถึงการจัดการคลังสินค้า เนื่องจากปริมาณสินค้าคงคลังจะเป็นต้นทุนหลักที่ส่งผลต่อองค์กร การมีปริมาณสินค้าคงคลังที่มากจะส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สูง ทั้งเสียโอกาสด้านการนำเงินทุนไปหมุนเวียน  เสียค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้า 

การบริหารการขนส่ง (Transportation Management)

4.การบริหารการขนส่ง (Transportation Management) 

รวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้า โดยจะต้องจัดส่งสินค้าถูกต้องครบจำนวนในสภาพที่สมบูรณ์  และตรงเวลาที่กำหนด

การเลือกช่องทางเพื่อใช้ในการขนส่งสินค้า (Transport Mode) เราอาจทำการเลือกช่องทางในการขนส่งได้หลายแบบ จากการแบ่งประเภทของการขนส่งออกเป็น 5 ประเภท คือ 

  1. การขนส่งทางรถไฟ (rail) 
  2. การขนส่งรถยนต์หรือรถบรรทุก (truck) 
  3. การขนส่งทางน้ำ (water) 
  4. การขนส่งทางอากาศ (air) 
  5. การขนส่งทางท่อ (pipeline)
ในการเลือกใช้ประเภทการขนส่ง มีแนวการคิดหลายวิธีโดยอาจใช้รูปตาราง (Matrix) ใส่ข้อมูลเพื่อเทียบข้อดีข้อเสียเพื่อหาวิธีในการขนส่งที่ดีที่สุด ในที่นี้อาจคิดเพียง 4 แบบ เพราะในส่วนขนส่งทางท่อนั้นจะเป็นการขนส่งเฉพาะสินค้า โดยปัจจัยที่นิยมนำมาคิดในการเลือกประเภทในการขนส่งได้แก่ 
  • ประเภทสินค้า ประเภทไหน มีข้อจำกัดอย่างไร ความสะดวกในการขนส่ง
  • ราคา ที่ใช้ในการขนส่ง 
  • เวลา ที่สามารถใช้ในการขนส่งมีระยะเวลาเท่าไรจะเหมาะสม
  • ประสิทธิภาพ ความต้องการของลูกค้า ความพร้อมในการใช้เลือกงาน เพื่อเลือกแบบที่จะใช้และรูปแบบสำรองกรณีมีเหตุจำเป็นตามสถานการณ์

ที่มา: www.iok2u.com

แชร์บทความ หรือข่าวสาร

Facebook
Line
Mail