ค้นหา
ระบบทางรถไฟในอนาคต Slab Track – Low Maintenance; Next Generation of Railway Track System

ระบบทางรถไฟในอนาคต Slab Track – Low Maintenance; Next Generation of Railway Track System

เป็นที่ทราบกันแล้วว่าการก่อสร้างรถไฟ Ballasted Track เพื่อขนส่งคมนาคมทั้งสินค้าและผู้โดยสายเป็นการก่อสร้างที่จะต้องใช้งบประมาณที่สูง อยู่ประมาณ70-200 ล้านบาท โครงสร้างทางรถไฟนี้จะมี Design Service Life Cycle อย่างน้อย 50 ปี และเมื่อมองด้านค่าใช้จ่ายสำหรับการก่อสร้างและการบริหารทางรถไฟนั้นการของบประมาณก่อสร้างนั้นไม่ยากเท่าการของบประมาณในการบำรุงรักษาทางรถไฟ ซึ่งมูลค่าของการซ่อมบำรุงทางจะเพิ่มขึ้นแปรผันตามสภาพใช้งาน ดังนั้นในการบริหารทางรถไฟเพื่อให้มีพื้นทางวิ่งที่สมบูรณ์และไม่เกิดการเสื่อมสภาพซึ่งจะทำให้ความสามารถในการรับน้ำหนักและความเร็วลดลง เพื่อที่จะทำให้การขนส่งทางรถไฟทำได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องมีการวางแผนการบำรุงทางที่ดีตามกำหนดระยะเวลา เพื่อให้ทางรถไฟมีสภาพการใช้งานที่ดีและลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาในระยะยาว จากการศึกษาวิจัยของ Lake et. al[1]., (2000) จาก School of Engineering, Queensland University of Technology, Australia พบว่าในประเทศ Australia จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาทางรถไฟประเภท Ballast Track ประมาณ 25 – 35% ของ Rail Operation Cost ดังนั้นเมื่อพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงระยะยาวที่มีมูลค่าที่สูง นอกจากนั้นยังต้องมีเครื่องจักรในการบำรุงที่มีมูลค่าสูงอีกด้วย วิศวกรรถไฟในหลายประเทศ จึงพยายามที่จะออกแบบพื้นทางที่ต้องการบำรุงรักษาน้อย ทำให้เกิดการ Utilisation Track ให้ได้สูงสุด ซึ่งวิศวกรรถไฟ ก็ได้พัฒนา Slab Track หรือ ทางรถไฟคอนกรีต ขึ้นมาเพื่อลดจุดอ่อนของ Ballasted Track เพื่อสมรรถนะของการขนส่งทางราง

Ballasted Track

Slab Track

Slab Track หรือเรียกอีกอย่างว่า ทางรถไฟไร้หินโรยทาง (non-ballasted track) Slab Track นี้มีข้อได้เปรียบหลัก ๆ เมื่อเทียบกับ Ballasted Track คือ มีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาทางที่ต่ำและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน โครงสร้างทางรถไฟไม่สูงนัก (Low Structure Height) น้ำหนักเบา (Light Weight Structure)ช่วยเพิ่มเสถียรภาพของโครงสร้างทางวิ่ง (Track Stability) จากแรงกระทำของรถไฟโดยเฉพาะรถไฟที่วิ่งด้วยความเร็วสูง (High Speed Rail: HSR) และไม่มี Drag Force รถไฟขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักมาก มีข้อได้เปรียบทางด้าน Track Stability นี้เองเป็นผลทำให้สามารถนำรถไฟความเร็วสูงและรถไฟขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักมากมาวิ่งในทางเดียวกันได้ เนื่องจากความมั่นคงของและไม่เคลื่อนตัวของตำแหน่งราง นอกจากนั้น Slab Track ยังเป็นทางรถไฟที่มี

จากการพัฒนาของระบบ Track Slab โดยมีเป้าหมายเน้นไปที่การลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเพิ่มประสิทธิภาพของทางวิ่ง วิศวกรรถไฟ ในหลาย ๆ ประเทศจึงมีการคิดและพัฒนาขึ้นมาเพื่อปรับให้เหมาะสมกับความต้องการ ทั้งในแง่ของการติดตั้ง ระบบการยึดติดกับตัวรางด้วยเครื่องยึดเหนี่ยว (Fastening) โดยเฉพาะในกรณีของ Rheda 2000 กับ Zublin ที่แตกต่างกันเพียงรูปทรงของ Sleeper กับระบบ Fastening เท่านั้น การออกแบบให้เหมาะสมกับผลกระทบจากสภาวะแวดล้อมเช่นการเปลี่ยนแปลงความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคือเนื่องจากต้องการป้องกันการขยายตัวของเหล็กรางรถไฟแล้วแผ่นพื้นทางวิ่งคอนกรีต ซึ่ง Slab Track ที่พบได้บ่อยมีดังนี้ Rheda 2000, Zublin, Shinkansen, และ Bogl Track 

Slab Track
ภาพจาก : xinhuathai.com

แนวทางพัฒนา Slab Track ในอนาคต

ประเทศไทยการใช้Slab Track ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนักเนื่องจากมีต้นทุนการก่อสร้างที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับ Ballasted Track ซึ่งโดยปกติการลงทุนเพื่อก่อสร้าง Slab Track จะใช้เฉพาะเส้นทาง หรือ ทางวิ่งที่ต้องการรอบการวิ่งถี่ หรือ ต้องการ Track Utilisation ที่สูง นอกจากนั้นการก่อสร้างSlabTrack ยังมีปัญหาเรื่องความยากลำบากในการติดตั้ง เนื่องจากในการวางรางรถไฟจะต้องมีความความแม่นยำในเรื่อง การวางรางให้ถูกต้องตาม Vertical & Horizontal Alignment ที่สูงเพื่อป้องกันการตกรางของรถไฟ อย่างไรก็ตามวิศวกรรถไฟในปัจจุบันก็ได้พยายามคิดค้น Slab Track ที่ง่ายต่อการติดตั้งและมีต้นทุนที่ต่ำเพื่อให้เกิดการลดต้นทุนค่าก่อสร้างและเพิ่มการ Utilisation ทางรถไฟเพื่อส่งให้เกิดการขนส่งทางรถไฟมากขึ้น

ที่มา: www.iok2u.com

แชร์บทความ หรือข่าวสาร

Facebook
Line
Mail