ค้นหา
เช็คให้ชัวร์ ก่อนใช้กล่องพลาสติกใส่อาหารเข้าไมโครเวฟ

เช็คให้ชัวร์ ก่อนใช้กล่องพลาสติกใส่อาหารเข้าไมโครเวฟ

การเลือกกล่องพลาสติกใส่อาหารสำหรับนำไปเข้าไมโครเวฟเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากวัสดุไม่สามารถรับความร้อนได้ดีพอ จึงทำให้เกิดการร้อนจัดในบริเวณพลาสติก ดังนั้น ถ้าเราเลือกใช้วัสดุที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้อาหารมีการปนเปื้อนสารบางอย่างจากภาชนะ และอาจทำให้เกิดการระเบิดหรือไฟไหม้ได้เช่นกัน วันนี้ทาง At-One จึงมาแนะนำกล่องพลาสติกใส่อาหารที่สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้ เพื่อให้สามารถใช้งานไมโครเวฟได้อย่างปลอดภัยและมั่นใจว่าอาหารของเราจะอบออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบนั่นเอง

กล่องพลาสติกใส่อาหารที่สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้ มี 2 ประเภท

1.พลาสติก CPET (Crystallized Polyethylene Terephthalate) 

เป็นวัสดุที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกโพลีเอทิลีน  (PET : Polyethylene Terephthalate) พลาสติกประเภทที่ 1 ชนิดเดียวกันกับที่ใช้ผลิตขวดน้ำพลาสติก แต่พลาสติก CPET จะมีความแตกต่างออกไปตรงที่มีการเติมสาร Nucleating Agents เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติให้ดีขึ้น มีความแข็งแรงและทนทานต่อความร้อนได้เป็นอย่างดี สามารถนำไปใช้กับไมโครเวฟได้โดยไม่เกิดการละอองไฟหรือระเบิด รวมถึงป้องกันการซึมผ่าน ไม่ให้อากาศเข้า-ออกได้ง่าย นิยมนำมาใช้เป็นกล่องใส่อาหารสำเร็จรูปแช่แข็งอย่างที่เห็นกันในร้านสะดวกซื้อทั่วไป และสามารถนำเข้าไมโครเวฟหรือเตาอบได้ โดยสามารถทนความร้อนได้สูงถึง 230 องศาเซลเซียส โดยทั่วไปแล้ว พลาสติก CPET ชนิดนี้ จะมีความหนาเพียงพอที่เพียงพอต่อการระเบิด แต่ก็ยังต้องระมัดระวังในการใช้งานให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของผู้ผลิตด้วยเช่นกัน

พลาสติก CPET

2.พลาสติก PP (Polypropylene) 

พลาสติกรีไซเคิลได้ประเภทที่ 5 เป็นพลาสติกที่มีความเหนียว มีความยืดหยุ่น ทนทานต่อแรงดึง อากาศสามารถผ่านได้เล็กน้อย แต่น้ำไม่สามารถซึมผ่านได้ นอกจากจะใช้เก็บอาหารสด อาหารแปรรูป และอาหารแช่แข็งได้ดี ทนต่อสารเคมีและอาหารที่มีฤทธิ์กัดกร่อนได้เล็กน้อยแล้ว โดนสามารถทนความร้อนได้ถึง 110 องศาเซลเซียส ดังนั้น จึงทำให้พลาสติกชนิดนี้สามารถใช้ใส่อาหารเพื่ออุ่นร้อนในไมโครเวฟได้โดยไม่เกิดการละอองไฟหรือระเบิด ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย สำหรับภาชนะมีฝาปิดควรนำฝาออกก่อน เพราะอาจจะผลิตจากพลาสติกต่างชนิดกันและเป็นประเภทที่ไม่สามารถทนต่อความร้อนสูงได้  ทั้งนี้ พลาสติก PP (Polypropylene) จะมีความต้านทานต่อความร้อนต่ำกว่าพลาสติก CPET (Crystallized Polyethylene Terephthalate) อาจทำให้ไม่เหมาะสำหรับการใช้กับอาหารแห้งและมีอุณหภูมิสูงนั่นเอง

พลาสติก PP

อย่างไรก็ตาม เมื่อเรานำกล่องพลาสติกใส่อาหารเข้าไมโครเวฟทุกครั้ง แนะนำให้มองหาและเลือกใช้พลาสติกที่มีสัญลักษณ์ Microwave Safe หรือ Microwavable จะดีที่สุด เพื่อเป็นการยืนยันว่าวัสดุชิ้นนั้นสามารถใช้กับไมโครเวฟได้อย่างปลอดภัยโดยไม่มีสารเคมีอันตรายปนเปื้อนในอาหาร


อย่างไรก็ตาม เมื่อเรานำกล่องพลาสติกใส่อาหารเข้าไมโครเวฟทุกครั้ง แนะนำให้มองหาและเลือกใช้พลาสติกที่มีสัญลักษณ์ Microwave Safe หรือ Microwavable จะดีที่สุด เพื่อเป็นการยืนยันว่าวัสดุชิ้นนั้นสามารถใช้กับไมโครเวฟได้อย่างปลอดภัยโดยไม่มีสารเคมีอันตรายปนเปื้อนในอาหาร และสำหรับท่านใดที่ต้องการค้นหาบริษัทผลิตและออกแบบบรรจุภัณฑ์ สามารถเข้ามายัง Website เพื่อติดต่อบริษัทที่ให้บริการออกแบบนั้นๆ หรือสามารถติดตามข่าวสารที่น่าสนใจได้ผ่านช่องทาง  Facebook  ที่ให้บริการโดยตรงของทาง At-Once เนื่องจากเราได้ทำการรวบรวมรายชื่อบริษัทผลิตและออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจบริการออกแบบโดยเฉพาะ

ที่มา: www.home.kapook.com

ที่มา: www.packaging.oie.go.th/

แชร์บทความ หรือข่าวสาร

Facebook
Line
Mail