ค้นหา
7 สัญลักษณ์ในขวดพลาสติก ที่ช่วยให้คุณคัดแยกขยะได้ง่ายขึ้น

7 สัญลักษณ์ในขวดพลาสติก ที่ช่วยให้คุณคัดแยกขยะได้ง่ายขึ้น

ผู้เขียนบทความ : At Once
By : At Once

การรักษาสิ่งแวดล้อมและลดปริมาณขยะเป็นเรื่องสำคัญในปัจจุบัน ซึ่งมีหลายวิธีในการเข้าร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น การลดใช้ถุงพลาสติก การนำขวดพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ การเลือกใช้สินค้าที่มีผลกระทบน้อยที่สุด และการรักษาสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ ไม่เพียงช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังช่วยประหยัดทรัพยากรธรรมชาติและลดค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าด้วย

วันนี้ทาง At-Once อยากชวนทุกท่านมาเริ่มลงมือสำรวจขยะขวดพลาสติก ถุงพลาสติกที่เราใช้ว่ามีขวดพลาสติก ถุงพลาสติกใช้แล้วทิ้งมีประเภทใดบ้าง ซึ่งวิธีการนี้ ถือเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เรารู้ว่าขวดพลาสติกที่เราใช้ มีความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมเพียงใด ซึ่งทางเราได้รวบรวมการแบ่งประเภทขวดพลาสติก และ ถุงพลาสติก โดยใช้หมายเลขบอกว่าขวดพลาสติก ถุงพลาสติกในแต่ละชนิด ว่าสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้หรือไม่ เพื่อให้ทุกท่านง่ายต่อการคัดแยกขยะนั่นเอง

1.สัญลักษณ์เบอร์ 1 - PETE (Polyethylene Terephthalate)

สัญลักษณ์เบอร์ 1

พลาสติกประเภท PETE (Polyethylene Terephthalate) มักใช้สำหรับการผลิตขวดพลาสติกใสๆที่มีความโปร่งใสและมองทะลุได้ เช่น ขวดน้ำเปล่า ขวดน้ำอัดลม ขวดน้ำมันพืช และขวดเครื่องปรุงอาหาร สัญลักษณ์เบอร์ 1 และ PET จึงเป็นสัญลักษณ์ที่คุ้นเคยและนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเมื่อเราพูดถึงพลาสติกประเภทนี้ค่ะ


2.สัญลักษณ์เบอร์ 2 - HDPE (High-Density Polyethylene)

สัญลักษณ์เบอร์ 2

พลาสติกประเภท HDPE (High-Density Polyethylene) มีความหนาแน่นสูงกว่า PETE จึงทำให้มีความทนทานและเหนียวแน่นมากกว่า โดยทั่วไปมักใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกสีขาว หรือสีอื่นที่เป็นสีทึบ เช่น ขวดนม ขวดแชมพู ขวดน้ำยาปรับผ้านุ่ม ผลิตภัณฑ์ซักผ้า กระปุกยา และอื่นๆ สัญลักษณ์เบอร์ 2 และ HDPE/HD-PE จึงเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้ระบุประเภทของพลาสติกนี้


3.สัญลักษณ์เบอร์ 3 - PVC (Polyvinyl Chloride) หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า พีวีซี 

สัญลักษณ์เบอร์ 3

พลาสติกประเภท PVC (Polyvinyl Chloride) เป็นวัสดุที่มีการใช้งานอย่างกว้างขวางในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น พวกของเล่นเด็ก ผ้าม่านห้องน้ำ แฟ้มใส่เอกสาร บัตร หลอดพลาสติกแบบแข็ง ล้วนผลิตจากพีวีซีทั้งสิ้น โดยพลาสติกประเภทชนิดมีคุณสมบัติที่หลากหลาย เช่น คงทนต่อแสงแดด ความร้อน ความเย็น และความชื้น แต่ในเวลาเดียวกัน พลาสติกชนิดนี้ก็มีความเสี่ยงต่อสุขภาพเราและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีสารประกอบคลอรีนเป็นองค์ประกอบ หากเมื่อตกค้างในสิ่งแวดล้อม จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ได้ ดังนั้น ควรมีการใช้งานพลาสติกชนิดนี้อย่างระมัดระวัง และมีการทำความสะอาดหรือกำจัดเศษพลาสติกอย่างถูกวิธี เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ในอนาคต


4.สัญลักษณ์เบอร์ 4 - LDPE (Low-Density Polyethylene) 

สัญลักษณ์เบอร์ 4

พลาสติกประเภท LDPE (Low-Density Polyethylene) เป็นวัสดุพลาสติกที่มีความยืดหยุ่นสูง และมีความอ่อนนุ่ม เหมาะสำหรับผลิตสินค้าที่ต้องใช้ความยืดหยุ่น เช่น ถุงพลาสติกมีหูหิ้ว หลอดพลาสติก และพลาสติกแรปห่ออาหาร ทำให้สามารถป้องกันการเปียกชื้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ LDPE ยังมีคุณสมบัติที่ทนทานต่อสารเคมี และมีราคาที่เป็นมิตรกับงบประมาณด้วย


5.สัญลักษณ์เบอร์ 5 - PP (Polypropylene) 

สัญลักษณ์เบอร์ 5

พลาสติกประเภท PP (Polypropylene) เป็นพลาสติกแข็งที่มีความทนทานต่อความร้อนและเครื่องหมายว่ามีความปลอดภัยสำหรับการใช้งานกับอาหาร เช่น ถ้วยโยเกิร์ต ถ้วยบะหมี่ เป็นต้น นอกจากนี้ พลาสติกประเภท PP ยังมีความยืดหยุ่นและทนทานต่อการแตกหัก เหมาะสำหรับการใช้งานในการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารที่ต้องการความคงทนและคงรูปทรงด้วยความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคด้วย


6.สัญลักษณ์เบอร์ 6 - PS (Polystyrene) 

สัญลักษณ์เบอร์ 6

พลาสติกประเภท PS (Polystyrene) เป็นวัสดุที่มีความแข็งแรงและมันวาว แต่เปราะแตกง่าย จึงไม่ควรนำไปใช้กับอาหารที่มีอุณหภูมิสูง เนื่องจากจะมีความเสี่ยงที่จะไหม้หรือละอองพลาสติกออกมาเป็นสารพิษ ยกตัวอย่างเช่น ช้อน ส้อมพลาสติกตามร้านสะดวกซื้อ ภาชนะโฟม ฝาแก้วกาแฟ ดังนั้น PS เหมาะสำหรับการใช้งานในภาชนะที่ไม่ต้องมาตรฐานสูง เช่นภาชนะที่ใช้ในร้านกาแฟ ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด หรือในการแพคสินค้าที่ไม่ต้องมีความคงทนมากๆ


7.สัญลักษณ์เบอร์ 7 Other (Miscellaneous Plastics) 

สัญลักษณ์เบอร์ 7

ขวดพลาสติก ถุงพลาสติกประเภทอื่นๆที่ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มเบอร์ 1-6 และไม่สามารถระบุได้เป็นชนิดเฉพาะได้ ซึ่งอาจมีความหลากหลายในลักษณะและสารประกอบ มักถูกนำมาใช้ในการผลิตอุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่น ขวดน้ำผลไม้ ฝาบรรจุภัณฑ์อาหาร ของเล่น ถ้วยพลาสติก ฯลฯ ซึ่งอาจต้องระมัดระวังสาร Bisphenol A (BPA) ที่อาจปนเปื้อนอยู่ในพลาสติกชนิดนี้ ซึ่งเมื่อสารนี้ปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกายอาจส่งผลกระทบต่อเซลล์สมอง ระบบประสาท และส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ รวมถึงการหลั่งฮอร์โมนการเจริญเติบโตได้ ดังนั้น ควรใช้พลาสติกชนิดนี้อย่างระมัดระวัง และทำการทิ้งทิ้งหลีกเลี่ยงการนำมาใช้ซ้ำหรือนำมาใช้ในอาหารและเครื่องดื่มได้โดยเด็ดขาด


ดังนั้น การรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้คนควรให้ความสนใจ และร่วมมือกันในการขจัดปัญหาเหล่านี้ให้หมดไป ทั้งนี้ หากคุณมีคำถามเพิ่มเติมหรือต้องการใช้บริการผลิตและออกแบบบรรจุภัณฑ์ประเภทต่างๆ ที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ สามารถเข้ามายัง Website เพื่อติดต่อบริษัทนั้นๆ  หรือสามารถติดตามข่าวสารที่น่าสนใจได้ผ่านช่องทาง Facebook ที่ให้บริการโดยตรงของทาง At-Once เนื่องจากเราได้ทำการรวบรวมรายชื่อบริษัทผลิตและออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจบริการออกแบบบรรจุภัณฑ์โดยเฉพาะ ซึ่งมั่นใจได้เลยว่าธุรกิจของคุณจะได้ผลลัพธ์ที่ดีอย่างแน่นอน

ที่มา: www.greenpeace.org

แชร์บทความ หรือข่าวสาร

Facebook
Line
Mail